รายการบล็อกของฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีใช้และผลิตกันอยู่ทั่วไป สามารถจำแนกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งานและวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิชา ได้ดังนี้
1. การฝึกทักษะ หรือการฝึกปฏิบัติ ( Drill and Practice)
ใช้สำหรับฝึกหัด ทบทวน เรื่องที่เรียนผ่านมาแล้วเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความแม่นยำในเนื้อหาโดยคอมพิวเตอร์จะนำเสนอในรูปแบบของแบบฝึกหัดหรือโจทย์ทีละข้อเพื่อเปรียบเทียบคำตอบของนักเรียนกับคำตอบที่ถูกต้อง ถ้าผู้เรียนตอบผิดในคำตอบแรก คอมพิวเตอร์จะถามในคำถามเดิม ถ้าครั้งที่สอง ยังตอบผิด คอมพิวเตอร์จะเฉลยคำตอบ แล้วจึงจะเสนอแบบฝึกหัดหรือโจทย์ในข้อถัดไปหรือถามคำถามเดิม จนกว่า ผู้เรียนจะตอบถูก จึงจะเสนอคำถามในข้อถัดไป โปรแกรมการฝึกทักษะจึงเป็นที่นิยมแพร่หลายที่สุด เพราะเป็นบทเรียน ที่สร้างง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก
2. การจำลองสถานการณ์ ( Simmulation )
เป็นการจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงให้นักเรียนศึกษาอย่างใกล้ชิด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะในการตัดสินใจแบบต่าง ๆ และเห็นผลของการตัดสินใจนั้น โปรแกรมประเภทนี้ มักจะใช้ในการ ฝึกปฏิบัติ สิ่งที่ไม่อาจฝึกด้วยของจริง เช่น การทดลองที่เป็นอันตรายหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก การเสนอสถานการณ์จำลองของระบบสุริยะจักรวาล มีดาวเคราะห์อะไรบ้างที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ในโปรแกรมนี้จะมี การ หมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ด้วย จึงเหมาะสำหรับการสอนเนื้อหาที่ศึกษาจากของจริงโดยตรง เป็นไปได้ยากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หรือเป็นอันตราย
3. การสอนแบบเนื้อหา ( Tutorial )
มีลักษณะคล้ายบทเรียนโปรแกรมที่มีทั้งคำอธิบายและคำถามให้เลือกตอบได้ในขณะเรียน ซึ่งคำถามอาจเป็นในรูปแบบของแบบเลือกตอบ หรือเติมคำ หรือแบบถูกผิด และให้ผลย้อนกลับสำหรับผู้เรียนได้ทันทีโปรแกรมประเภทนี้ส่วนมากใช้สอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกฏเกณฑ์หรือมโนทัศน์ ( Concept) ใหม่ ๆ เป็น
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้สอนแทนครูเฉพาะในเนื้อหาบางตอน โดยเสนอเนื้อหาความรู้เป็นเนื้อหาย่อย ๆ
แก่ผู้เรียน นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาที่มีคำถามแทรกอยู่เป็นระยะ ๆ โดยนักเรียนจะตอบไปตามโปรแกรมที่ตั้งไว้
นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนอยู่โดยโปรแกรมบทเรียนจะตอบคำถามนั้น ๆ
และประเมินคำตอบของนักเรียนที่บันทึกไว้ในการเสนอเนื้อหาบทเรียนใหม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคำตอบ ของนักเรียน ว่ามีความรู้ความเข้าใจเพียงใด ข้อดีของโปรแกรมนี้ คือ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเรื่องที่ตนถนัด และตามความ
สามารถ ของผู้เรียน เพราะลักษณะของบทเรียนจะแยกออกเป็นตอนย่อย ๆ
4. การทดสอบ ( Testing )
เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทดสอบ โดยให้ผู้เรียนทำการสอบ แบบมีปฏิสัมพันธ์ กับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการวัดผลการเรียนการสอน ซึ่งทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนานตื่นเต้น และน่าสนใจ โดย
คอมพิวเตอร์จะเสนอคำถามทีละข้อซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกตอบคำถามข้อใดก่อนหลังก็ได้ และท้ายที่สุดโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะตัดสินคำตอบทั้งหมดให้กับผู้เรียน แจ้งผลคะแนนและจัดลำดับให้ทราบทันที อีกทั้งยังสามารถบันทึกผลคะแนนเพื่อให้ทราบความก้าวหน้าอีกด้วย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
5. เกมเพื่อการสอน ( Instructional Game)
เป็นการใช้เกมเพื่อการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่มาก เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนผู้เรียนจึงได้รับความรู้ ทักษะ และความสนุกสนานไปในตัว บทเรียนแบบนี้มีคุณประโยชน์คล้ายกับ แบบสถานการณ์จำลองตรงที่ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาที่เสนอให้ทั้งหมด บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เป็นบทเรียนและเครื่องมือประกอบการสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งให้ ความตื่นเต้น สนุกสนาน แต่มีจุดมุ่งหมายชัดเจนในการเรียนรู้

• การแก้ปัญหา (Problem-Solving )
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด รู้จักการตัดสินใจ โดยมีการกำหนดเกณฑ์ให้ผู้เรียนเรียนไปตามเกณฑ์นั้นโปรแกรมการแก้ปัญหานี้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ โปรแกรมที่ให้ผู้เรียนเขียนเอง และโปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้ว เพื่อช่วยผู้เรียนในการแก้ปัญหา โปรแกรมที่ผู้เรียนเขียนเองจะกำหนดปัญหาและเขียนโปรแกรม สำหรับ การแก้ปัญหานั้น โดยที่คอมพิวเตอร์จะช่วยในการคิดคำนวณและหาคำตอบที่ถูกต้องให้ แต่ถ้าเป็นการแก้ปัญหา โดยใช้โปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้ว คอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณขณะที่ผู้เรียนเป็นผู้จัดการกับปัญหาเหล่านั้น

• ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีผลย้อนกลับมาได้เร็วทันที โดยไม่ต้องรอครูผู้สอน
2. การใช้สี ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหว เสียงดนตรี ซึ่งเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและดึงดูดใจผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัดหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น
3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
4. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
5. การเก็บข้อมูลของเครื่องทำให้สามารถนำไปใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็น อย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
6. ลักษณะโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตน โดยสะดวกอย่างช้า ๆ โดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบผิด และผู้เรียนเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันเราได้ใช้ระบบการสื่อสารทางด้านคอมพิวเตอร์ติดต่อหรือค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา
7. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของครู ในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้

• ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ใช้วิธีการเร้าความสนุกมากเกินไป ซึ่งบทเรียนบางบทเรียนที่เน้นความสนุก โดยนำเข้าไปแทรกในบทเรียน บางทีอาจจะไม่มีสาระต่อการเรียนรู้ก็ได้
2. การออกแบบโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอนนั้น ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เมื่อเทียนกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ และยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
3. เนื้อหาไม่ตรงกับสาระวิชาหรือหลักสูตร ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แท้จริง ที่จะสามารถนำมาสอนได้
4. การที่จะให้ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความชำนาญและความสามารถเป็นพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของครูผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5. ผู้เรียนบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมาก ไม่มีความเป็นธรรมชาติเหมือนอยู่ในห้องเรียน

• ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ เป็นบทเรียนประเภท CAI ที่มีภาพประกอบพร้อมคำบรรยาย วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมด 4 ข้อ คือ
1. การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100
2. การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000
3. การคูณ
4. การหาร
รูปแบบการเสนอเป็นการนเสนอแบบพี่สอนน้อง โดยการนำพี่ๆ ที่เป็นสัตว์ที่เด็กๆ ชื่นชอบเป็นตัวดำเนินเรื่องในการสอนของแต่ละบท ดังนี้












หัวข้อ หน้าแรก




คำบรรยายภาพ
ยินดีต้อนรับเข้าสู้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จัดทำโดย นายประกิต เตชะกฤตธีรพงศ์ โรงเรียนชุมชนวัดมาติการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท



หัวข้อ หน้าแรก




คำบรรยายภาพ
หน้าเมนูหลักคลิกเพื่อเลือกหัวข้อ แนะนำบทเรียน เนื้อหาบทเรียน มาตรฐานการเรียนรู้ คู่มือการใช้โปรแกรม หรือออกจากโปรแกรมครับ


หัวข้อ หน้าแรก




คำบรรยายภาพ
กรอกชื่อและนามสกุลของน้องๆ เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม ตกลง ครับ



หัวข้อ หน้าแรก




คำบรรยายภาพ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู้แบบทดสอบก่อนเรียนนะครับ คลิกตกลงเพื่อเข้าทำแบบทดสอบได้เลยครับ


หัวข้อ เนื้อหาบทเรียน




คำบรรยายภาพ
เนื้อหาบทเรียน ให้นักเรียนเลือกบทเรียนที่สนใจได้เลยนะครับ แต่ถ้านักเรียนคนใดยังไม่ได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ให้คลิกที่ปุ่ม แบบทดสอบ เพื่อเข้าไปทำแบบทดสอบก่อนเรียนนะครับ



หัวข้อ การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100




คำบรรยายภาพ
การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 น้องๆ เลือกศึกษาหัวข้อที่สนใจได้เลยนะครับ
เมื่อเลือกคลิกหัวข้อจะโชว์ตัวอย่างดังนี้คือ ในที่นี่จะเลือกหัวข้อ "ความสัมพันระหว่างตัวตั้ง ตัวลบและผลลบ"
หัวข้อ ความสัมพันธ์ของตัวตั้ง ตัวลบ และผลลบ




คำบรรยายภาพ
น้อง ๆ ทราบหรือไม่ว่า การลบมีความสัมพันธ์กับการบวก กล่าวคือ ผลลัพธ์ของจำนวน 2 จำนวนใด ๆ เมื่อบวกกับตัวลบ จะเท่ากับ ตัวตั้งเสมอ

หัวข้อ การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000



คำบรรยายภาพ การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 น้องๆ เลือกศึกษาหัวข้อที่สนใจได้เลยนะครับ

หัวข้อ การคูณ



คำบรรยายภาพ การคูณ น้องๆ เลือกศึกษาหัวข้อที่สนใจได้เลยนะครับ

หัวข้อ การบวกและการคูณ



คำบรรยายภาพ
สวัสดีครับน้องๆพบกับพี่ลิงน้อยในเรื่องการบวกและการคูณนะครับ การบวกและการคูณ น้องๆ ครับพี่ลิงน้อยมีส้มอยู่ 5 กอง กองละ 2 ผล อยากรู้ว่าพี่ลิงน้อยมีส้มทั้งหมดกี่ผล

หัวข้อ โจทย์ปัญหา



คำบรรยายภาพ โจทย์ปัญหา น้องครับในตอนนี้พี่ลิงน้อยมีโจทย์ปัญหาการคูณคือ พี่มีแก้ว 3 กล่อง กล่องละ 4 ใบ พี่มีแก้วทั้งหมดกี่ใบ

หัวข้อ การลบและการหาร



คำบรรยายภาพ กาลบและการหาร น้องๆ ครับสมมุติว่าพี่แพนกวิ้นมีขนม 6 ชิ้น ถ้าให้หยิบครั้งละ 2 ชิ้น พี่แพนกวิ้นจะต้องหยิบขนมกี่ครั้งจึงจะหมดพอดี
• การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการจัดการศึกษาของ กศน.
ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของการศึกษานอกโรงเรียนนั้นถือว่าการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมากเพราะที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction) เป็นสื่อการศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากและยังมีข้อได้เปรียบเหนือสื่ออื่นๆ ด้วยกันหลายประการ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงกลายเป็นสื่อการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงการศึกษา ของครู อาจารย์ และนักการศึกษาและนักวิชาการทั่ว ๆ ไปในปัจจุบัน การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการสอนนั้น ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของการจัดหาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้หรือการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขึ้นใช้เองก็ตาม ครู อาจารย์ นักการศึกษา และนักวิชาการ จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ดังนั้นการจัดทำเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นเสมือนผู้ช่วยครูผู้สอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการด้านการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์นำมาใช้ในสถานศึกษาออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์หรือครูผู้สอน
คือ การนำคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่ของครู ผู้สอนหรือติวเตอร์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์จะถูกใช้ในการนำเสนอบทเรียน คอยตอบคำถาม ให้คำแนะนำต่างๆ ตลอดจนทดสอบและประเมินความเข้าใจ ตัวอย่าง เช่น การให้ผู้เรียนเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์กาเรียนการสอน
เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างหนึ่ง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำเกรดหรือพิมพ์เอกสารประกอบการสอน
3. การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน
การสอนการเขียนโปรแกรมให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งลักษณะนี้คอมพิวเตอร์ก็เปรียบเสมือนนักเรียน (Tutee) ซึ่งต้องคอยรับคำสั่งจากผู้สอนและผู้สอนในที่นี้ก็คือ ผู้เรียนซึ่งเรียนการเขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง
จากการดำเนินงานจัดการเรียนการสอน กศน.ในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งลักษณะของการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการศึกษาออกเป็น 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. คอมพิวเตอร์กับการบริหาร โดยการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเพื่อใช้ในฝ่ายธุรการ เพื่อช่วยงานการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ อาทิ เช่น การทำทะเบียนประวัตินักศึกษา การทำทะเบียนประวัติของครู การจ่ายเงินเดือนครุและเจ้าหน้าที่ การพิมพ์ในแจ้งผลการเรียน การจัดตารางสอน ตารางสอบ การจัดเก็บรายรับ รายจ่าย งบประมาณ และข้อมูลทรัพย์สินของโรงเรียน ฯลฯ ทั้งนี้ถือเป็นการช่วยผู้บริหารในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการเตรียมข้อมูล ประมวลผลและนำเสนอ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาต่าง ๆ นอกจากนี้ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วยงานการพิมพ์ทั่วไป เช่น การออกจดหมาย รายงานการประชุม จดหมายข่าว เป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์กับการจัดการการสอน (Computer-Managed Instruction หรือ CMI) ในการจัดการเรียนการสอนทั่ว ๆ ไป ใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บสถิติต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การเก็บสถิติของนักเรียนที่มาเข้าเรียน ผลการสอบในแต่ละภาค เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งครูสามารถใช้ข้อมูลสถิติที่ได้จากการประมวลนี้มาใช้วางแผน การสอนตลอดจนปรับปรุงหลักสูตรได้ด้วย นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ก็สามารถนำมาใช้กับการจัดการการสอนทางคอมพิวเตอร์ได้ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างระบบในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและความต้องการของผู้เรียน เช่น จำนวนครั้งที่เข้าใช้ระบบระยะเวลาในการใช้ ผลสอบของผู้เรียน (ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจากการทดสอบผู้เรียนก่อนหรือหลังการเรียนโดยคอมพิวเตอร์กับการจัดการการสอนจะทำการสุ่มข้อสอบ จากฐานข้อมูลออกมา) ฯลฯ นอกจากนี้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์สร้างระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ เพื่อช่วยวางแผนการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนและระบบการนำเสนอเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามความสามารถความถนัดและความสนใจของตน ซึ่งการนำเสนอเนื้อหานี้จะอยู่ในรูปแบบของบทเรียนช่วยสอนทางคอมพิวเตอร์
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สำหรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการศึกษาในลักษณะของการนำเสนอการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ โดยที่คอมพิวเตอร์จะทำการนำเสนอบทเรียนแทนผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองในหมวดวิชาต่าง ๆ ซึ่งในภาคเรียนนี้ได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนหมวดวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านทำนองเสนาะและการพูดอย่างมีศิลปะ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนได้มากและนักศึกษา กศน.ก็สนใจเป็นอย่างดี
4. คอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือช่วย
ในการนำเสนอเนื้อหา (Presentation) การสร้างสื่อการสอนและการสร้างฐานข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีมัลติมีเดียนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนแบบบรรยายได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพหรือเสียง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ข้อความแต่เพียงอย่างเดียว การนำเสนอในลักษณะนี้จึงมีข้อได้เปรียบมาก นอกจากนี้ การนำเสนอเนื้อหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ยังช่วยเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ให้ดีขึ้นด้วย
5. คอมพิวเตอร์กับการติดต่อสื่อสารและการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต (Internet) จะช่วยให้ผู้ใช้ (ทั้งครูและนักเรียน) สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารและสอบถามความคิดเห็น ศึกษา ทำวิจัย ร่วมกับผู้ใช้อื่นๆ ทั้งที่อยู่ในสถาบันเดียวกันและสถาบันต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งการสั่งหรือส่งการบ้านผ่านทางเครือข่ายได้ โดยทั้งหมดนี้ทำได้โดยการใช้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษสั้นๆ ว่า อี-เมล์ (e-mail ย่อมาจาก electronic mail) นอกจากนี้การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือจากห้องสมุดต่างๆ ได้ การประชุมทางไกล (teleconference) หรือการเรียนทางไกล (teleeducation) ผ่านทางเครือข่ายได้ ซึ่งการศึกษานอกโรงเรียนใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนทางไกลผ่านจานดาวเทียมไทยคม ซึ่งมีสถานีแพร่ภาพที่อยู่ที่วังไกลกังวล สามารถเปิดรับชมได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดรราชการในช่อง ETV



• การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในกิจกรรมของ “ชมรมจิตอาสา” กศน.บางบัวทอง
“ชมรมจิตอาสา” เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำตนเป็นบุคคลที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ฝึกให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ปฏิบัติตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่ดีต่อการพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้นคณะครูการศึกษานอกโรงเรียนจึงมีความสนใจที่จะสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนทั้ง 2 ระดับขึ้น คือ นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของศูนย์การเรียนชุมชนหมู่บ้านบัวทอง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางบัวทอง จำนวน 20 คน ซึ่งมีแผนในการดำเนินงาน คือ
1. สุ่มตัวอย่างนักศึกษาซึ่งเป็นสมาชิกชมรมจิตอาสาโดยวิธีจับฉลากจากผู้เรียนทั้งหมด ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่
1.) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 4 หน่วย ดังนี้
หน่วย 1 ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย
หน่วย 2 สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
หน่วย 3 พิธีการต่างๆของผู้บำเพ็ญประโยชน์
หน่วย 4 การบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
2.) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
โดยการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์
3.) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 10 แผ่น
4.) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แบบประเมินผล

ซึ่งจากการจัดทำแผนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าวข้างต้น จะนำไปใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวนักศึกษา ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป







• ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แม้ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเต็มไปด้วยประโยชน์มากมาย แต่การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อาจเป็นในลักษณะของดาบสองคมได้เช่นกัน หากไม่ได้มีการวางแผนให้รอบคอบก่อนนำไปใช้นั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก่อให้เกิดโทษได้ ตัวอย่างเช่น การเพียงแต่กำหนดให้ผู้เรียนไปใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยที่ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมใดๆ แก่ผู้เรียนเสียก่อน (เช่น การจัดหาความรู้พื้นฐานที่จำเป็นก่อนการใช้โปรแกรม เป็นต้น ) อาจส่งให้เกิดผลลบต่อการเรียนของผู้เรียนแทนการเรียนรู้ได้ ในกรณีนี้ผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมวางแผนการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสมด้วย นอกจากการวางแผนในการนำไปใช้แล้ว การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (หรือการเลือกสรรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ที่ได้มาตรฐานไว้ใช้งานเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยาและทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน้อยเกินไป หรือการที่กิจกรรมที่มีไม่สร้างสรรค์ ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือการที่โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนในการควบคุมการเรียนของตนได้จะสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ อีกต่อไป และทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในแง่ลบแทน ยิ่งไปกว่านั้นผู้สนใจสร้างควรที่จะคำนึงไว้ด้วยว่าการผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลานานพอสมควร
ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบให้ผู้เรียนใช้เวลาในการเรียนประมาณ 1 คาบนั้น จะต้องใช้เวลาในการผลิตประมาณ 60-100 ชั่วโมง นอกจากเวลาในการผลิตแล้วค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้นับว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทอื่นๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อโสตทัศนวัสดุ ต่าง ๆ ดังนั้น ผู้ที่สนใจในการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงต้องใช้เวลาคิดพิจารณาในช่วงของการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มากทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งงานที่คุ้มค่ากับเวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปด้วย

• สรุป
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือบทเรียนช่วยสอน คือ การจัดทำเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นเสมือนผู้ช่วยครูผู้สอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากสื่อการสอนอื่น ๆ คือ สามารถโต้ตอบ และแสดงผลลัพธ์บางอย่างให้ผู้เรียนดูได้ทันที ทำให้น่าตื่นเต้น สนุกสนาน เร้าความสนใจให้อยากเรียน ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงมีส่วนในการส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีกว่าการสอนแบบอื่น และจะเห็นว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีโครงสร้างคล้ายกับบทเรียนโปรแกรมซึ่งมีการนำเสนอเนื้อหา เป็นกรอบย่อย ๆ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากง่ายไปยาก เป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ มีการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ที่มีความน่าสนใจ และเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งผู้ที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีได้ต้องศึกษาโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าใจ ศึกษารายละเอียดและลักษณะเฉพาะอย่างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแต่ละรูปแบบให้ดีว่ามีคุณลักษณะเด่นในด้านใด โดยคำนึงถึง จุดประสงค์ในการเรียนการสอนเป็นหลัก รวมถึงลักษณะเนื้อหาวิชา และความพร้อมของผู้เรียนด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่สามารถสอนแทนครูได้ทั้งหมดซึ่งอาจเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนต้องพัฒนาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุดและประยุกต์เอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแม้จะมีประโยชน์หลาย ๆ ด้าน แต่ในการนำเอาบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการเรียนการสอนนั้น จะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย เพราะ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเพียงอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนเท่านั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นจะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความ สามารถเฉพาะด้านด้วย จากที่ได้กล่าวมาเป็นเพียงข้อควรคำนึงในการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งผู้สร้างต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้า การสังเกต และประสบการณ์ในการจัดสร้างต่อไป จึงจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนอีกด้วย

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การบ้านวิชานวัตกรรม

เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
ความเจริญในด้านต่างๆ ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้นวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆเทคโนโลยี เป็นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในกิจการด้านต่าง ๆ เฉพาะทาง เช่น การใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร การแพทย์ การทหาร การศึกษา เทคโนโลยีการสื่อสารนับว่าเป็นเทคโนโลยี ที่มีความก้าวหน้า อย่างเห็นได้ชัดที่สุด หากเราย้อนพิจารณาถึงอดีต ในเวลาเพียงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานี้จะเห็นว่า เทคโนโลยีทางการสื่อสารมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก เริ่มจากการค้นพบ และพัฒนาพลังงานไฟฟ้าได้แล้ว ก็เกิดการสื่อสาร โดยโทรเลขทางสายเกิดขึ้น อีกไม่นานเมื่อค้นพบวิธีการส่งคลื่นวิทยุ ก็เกิดการติดต่อสื่อสารแบบไม่ใช้สาย เริ่มจากการส่งในรูปวิทยุโทรเลข แล้วพัฒนาจนกระทั่งสามารถส่งเสียงพูด เป็นวิทยุกระจายเสียงได้สำเร็จ หลักจากนั้นไม่นาน ก็สามารคิดค้นวิธีรับส่งโทรทัศน์ขาวดำ และสี ในเวลาต่อมา จนถึงยุคปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีวิทยุรับฟังเสียงอยู่ทุกหนทุกแห่งมีโทรศัพท์ติดต่อกันในชุมชน ระหว่างจังหวัด มีการสื่อสารผ่านดาวเทียม ติดต่อกันได้ทั่วโลกเทคโนโลยีทางการทหาร
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1 .วัสดุ ได้แก่ สิ่งที่มีการผุพังสิ้นเปลืองต่างๆ อาทิ ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม
2. อุปกรณ์หรือเครื่องมือ ได้แก่ สิ่งที่มีความคงทนถาวร อาทิ กระดานดำ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องบันทึกภาพ ฯลฯ
3. วิธีการ ซึ่งได้แก่ กิจกรรม การสาธิต ทดลองต่างๆ ซึ่งจะต้องมี ระบบการนำมาบูรณาการให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานา ๆ ชาติ ได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการ ศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการยังมีคำอีกคำหนึ่ง
ซึ่งเรามักจะพูดกันเสมอ คือ คำว่าเทคนิค (Technique) เพื่อให้ผู้อ่านทราบวิธีในการวิเคราะห์ความหมายของ เทคโนโลยี และเทคนิค เราอาจกล่าวเป็นหลักง่าย ๆ ว่า เทคนิคนั้นหมายถึง หลักการหรือวิธีการใช้หรือซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ เพื่อให้เครื่องมือทำงานได้ดีที่สุด การใช้เทคนิคมีหลัก 3 ประการ คือ

1. จะใช้เครื่องมืออย่างไร
2 .จะซ่อมเครื่องมืออย่างไร
3 .จะบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างไร
ผู้มีความรู้ทำหน้าที่ดังกล่าวได้ เรียกว่า ช่างเทคนิค (Technician) ส่วนเทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) โดยมีหลักการ 5 ประการ คือ
1 .จะใช้เครื่องมือกับใคร
2. จะใช้เครื่องมือเมื่อใด
3. จะใช้เครื่องมือที่ไหน
4. จะใช้เครื่องมือทำไม
5. จะใช้เครื่องมือเพื่ออะไร
สรุปแล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีทางการศึกษา หรือหมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบเพื่อใช้ปฏิบัติในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการคือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก
จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว


พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วยการแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาของชาวกรีกและโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นก็ได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปฐกถาได้มาก
ธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในขณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ.1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่
บี.เอฟ.สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก
แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ
การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
เทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
ในประเทศไทยเรา ได้มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษามานานแล้ว คือพ.ศ.2483 ได้ตั้งแผนกโสตทัศนศึกษาขึ้นในกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และมีหน่วยงานโสตทัศนศึกษาตามจังหวัดต่าง ๆ บริการประชาชนและโรงเรียน
พ.ศ. 2490 ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ตั้งแผนกโสตทัศนศึกษาเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนและต่อมาได้ตั้งบริการ โสตทัศนอุปกรณ์ขึ้น เพื่อผลิตอุปกรณ์แก่หน่วยราชการต่าง ๆ สำหรับให้การศึกษาแก่ประชาชน
พ.ศ.2497 ได้มีผู้เชี่ยวชาญทางโสตทัศนศึกษา จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา มาช่วยที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จัดตั้งแผนกโสตทัศนศึกษาขึ้นในคณะวิชาการศึกษา เพื่อบริการให้ความรู้ อบรมครู อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาการศึกษา
พ.ศ. 2498 ตั้งศูนย์โสตทัศนศึกษาขึ้นที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2511 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งศูนย์โสตทัศนศึกษา ปัจจุบันสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานและทุกระดับ ต่างก็มีหน่วยงาน ทำหน้าที่ด้านเทคโนโลยีการศึกษา โดยเฉพาะการจัดบริการสื่อการเรียนการสอนในสถาบัน ในมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยครู ได้จัดให้มีการศึกษาด้านเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี โทและปริญญาเอก

เทคโนโลยีทางการสอน
เทคโนโลยีทางการสอน เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่อของเทคโนโลยีทางการเรียนการสอน ในการเรียนการสอน หรือการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ดีที่สุด สำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์ และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ วิธีการช่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูดของครู แต่เพียงอย่างเดียว
แนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบันเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงอย่างกว้างขวาง แทนการฟังแต่เพียงคำบอกเล่าของครู ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของสาขาวิทยาการต่าง ๆ ทำให้ มีสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้มากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเดิม
การเรียนการสอนที่ปฏิบัติได้จริง ส่วนใหญ่ เราไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรง ให้กับผู้เรียนได้ทุกเนื้อหาวิชาเนื่องจากอาจมีข้อจำกัดบางประการ เช่น
- ต้องลงทุนมาก
- ต้องใช้เวลานานมาก อาจเป็นหลายวัน หลายปีหรือหลายร้อยปี
- มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก
- ความรู้บางอย่างไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง
ดังนั้น นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงแล้ว เรายังมีความจำเป็นต้องจัดประสบการณ์อย่างอื่น ให้ผู้เรียนได้รับแทนประสบการณ์ตรงด้วย เช่น การใช้รูปภาพ หนังสือ แผนภูมิ วิทยุโทรทัศน์ วิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผลิตทางการศึกษาทางการศึกษามีคุณภาพสูง สุด
การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอน ครูมักเน้นหนักที่การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจรับรอง หรือเชื่อถือได้ว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งนี้เพราะการใช้วัสดุอุปกรณ์กับคน ซึ่งมีชีวิตจิตใจ มีอารมณ์ มีสภาพแวดล้อม ไม่คงที่ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการในการใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิธีการ กระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษานั่นเอง
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิดแบบเรียนโปรแกรมซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3 การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษาหรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพหรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
นวัตกรรมทางการศึกษา EDUCATIONAL INNOVATION
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการมาจากภาษาอังกฤษว่าInnovation มาจากคำกริยา ว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทย เดิมใช้คำว่า นวกรรม ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยน มาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอาเข้ามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา(Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น นวัตกร (Innovator)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
จากความหมายของ นวัตกรรมที่กล่าวมา สามารถจะนำมาสรุปความหมายของคำว่า "นวัตกรรมการศึกษา" ได้ว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การที่จะจัดว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม หรือไม่นั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันมาก เพราะแต่ละคนก็จะให้ความหมายหรือมีความรู้สึกกับคำว่า "ใหม่ " แตกต่างกันไป ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน ในเรื่องนี้ ดร.เปรื่อง กุมุท ได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะของการเกิดนวัตกรรมการศึกษา เอาไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. ความคิด หรือการกระทำใหม่นั้นโดยอาจจะเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอน
2. ความคิด หรือการกระทำใหม่นั้น ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้วแต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ต้องเลิกไป พอมาถึงเวลานี้มีสิ่งเกื้อหนุนพร้อม จึงนำเอาความคิดนั้นมาใช้ได้อีก เช่น การสอนทางไกล เมื่อก่อนทำไม่ได้ผล เพราะขาดระบบการสื่อสารมวลชนที่เอื้ออำนวย แต่ในปัจจุบัน มีสื่อสารมวลชน ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ช่วยให้สามารถทำได้
3. ความคิด หรือการกระทำใหม่นั้น เกิดขึ้นพร้อมกับมีสถานการณ์ หรือสิ่งเกื้อหนุนพอดีในขณะนั้นจึงสามารถนำมาใช้ได้ผลดี ซึ่งเป็นความหมายที่แท้จริงของ นวัตกรรมทางการศึกษา
4. ความคิด หรือการกระทำนั้นใหม่ ครั้งหนึ่งเคยถูกทัศนคติของผู้บริหารต้านทานไว้ แต่ตอนนี้เปลี่ยนผู้บริหาร หรือผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติไปทางที่สนับสนุน จึงนำกลับมาใช้ได้
5. ความคิด หรือการกระทำใหม่จริง ๆ ยังไม่เคยมีคนคิดและทำมาเลยในโลกนี้ เพิ่งจะมีคนคิดได้เป็นคนแรก และเห็นว่าน่าจะใช้ได้ จึงนำมาใช้
นอกจากนี้ยังสามารถจะใช้หลักเกณฑ์อื่นประกอบการพิจารณาด้วยว่า สิ่งนั้นเป็นนวัตกรรมหรือไม่ คือ
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ (ทั้งหมดหรือบางส่วน)
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ในระหว่างการวิจัย ว่า จะเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่ง ในระบบงานปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้แล้ว ไม่ถือว่าเป็น นวัตกรรม ตัวอย่างต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา
- การสอนโดยครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียน
- การเรียนตำราแบ่งออกเป็น บท ๆ เนื้อหาติดต่อกัน
- โรงเรียนระบบมีชั้น ป.1 ป.2 จนถึง ป.6
ตัวอย่างต่อไปนี้ถือว่าเป็น นวัตกรรมทางการศึกษา
- การสอนแบบกลุ่มกิจกรรม ศูนย์การเรียน
- การเรียนตำราแบบโปรแกรม
- โรงเรียนไม่แบ่งชั้น
ฯลฯ
ตามที่กล่าวมาในตอนต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมในสังคมต่าง ๆ ย่อมจะแตกต่างกันไป บางสิ่งอาจจะเป็นนวัตกรรมของสังคมหนึ่งแต่สิ่งเดียวกันนั้นกลับเป็นสิ่งธรรมดาของอีกสังคมหนึ่งก็ได้


แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐาน ทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นวิธีใหม่ ๆ เช่นการใช้บทเรียนโปรแกรม เครื่องสอน การสอนเป็นคณะ
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมที่เดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติแต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองความคิดอันนี้ได้แก่ การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น มหาวิทยาลัยเปิด บทเรียนสำเร็จรูป การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสอทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก
วิธีระบบ (System Approach)
ระบบคือ ส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่ง ที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น วิธีระบบ เป็นการคิดหรือการทำงานที่ยึดหลักความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันอยู่ โดยถือว่า การทำงานเพื่อให้เกิดผล (Out put) ใดๆก็ตาม ต้องอาศัยทรัพยากร ตัวป้อน (Input) และมีวิธีการ (Process) ของการทำงานนั้นๆ ดังนั้น ระบบ จึงมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หรือทรัพยากรที่ใช้วัตถุดิบ ทุน ทัพสัมภาระ หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ขบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียนชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการ เป็นต้น ถ้าในเรื่องของระบบการหายใจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึงการนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลตามที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือ การให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3. ผลผลิตหรือการประเมินผล (Out put) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น การวิเคราะห์ระบบ (System analysis)
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขบวนการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกัน
ระบบการเรียนการสอน
ระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ
1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญ
นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการ จะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรม จึงเป็นสิ่งที่มีขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมา นานแล้ว ก็ถือว่า หมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทนในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมาก ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอน ศูนย์การเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสอนทางไกล ฯลฯ
1 บทเรียนโปรแกรม
บางครั้งเรียกว่า บทเรียนสำเร็จรูป programed book, Scramble book บทเรียนด้วยตนเอง เป็นบทเรียนที่จัดลำดับประสบการณ์ให้กับผู้เรียนโดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ มีลักษณะที่สำคัญคือ เนื้อหาของบทเรียน ถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ สั้นๆ เรียกว่า "กรอบ" (Frame) ซึ่งจะถูกจัดลำดับขึ้นจากสิ่งที่ง่าย ไปหาสิ่งที่ยาก แต่ละกรอบมีคำอธิบายและคำถามต่อเนื่องกันไป คำถามอาจให้ เติมคำ ถูกผิด หรือเลือกคำตอบ เมื่อผู้เรียนตอบคำถามแล้ว จะสามารถตรวจคำตอบได้ทันทีว่า คำตอบของคนนั้นถูกหรือผิด นักเรียนจะศึกษาไปตามลำดับขั้นและ ปฏิบัติตามคำแนะนำที่กำหนดไว้ในแบบเรียน แบบเรียนนี้จะทำหน้าที่แทนครูเป็นรายตัว (Tutor)
2. เครื่องสอน (Teaching machine)
เครื่องสอนคือ เครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สอนนักเรียนเป็นรายบุคคล มีส่วนประกอบ ที่สำคัญคือรายการสอน(Programs) ซึ่งหมายถึง สิ่งพิมพ์ หรือสิ่งที่เขียนเป็นรายการป้อนเข้าไปในเครื่องสอนเพื่อใช้เป็นบทเรียนให้นักเรียน เรียนได้ด้วยตนเองผู้เรียนจะต้องสามารถเข้าใจได้ทันทีและกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็นอยู่ได้ตลอดเวลา เครื่องสอนอาจรวมเอาสื่อ หรือเทคนิคหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งจะเป็นการเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
3. การใช้คอมพิวเตอร์การเรียนการสอน (CAI)
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ ได้ถูกนำมาใช้กับการเรียนการสอนมากขึ้น ทั้งในรูปของคอมพิวเตอร์จัดการสอน(CMI) และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) กลายเป็นรูปแบบของการเรียนการสอนแนวใหม่ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง บทเรียนของคอมพิวเตอร์จะถูกทำให้เป็นโปรแกรมที่แปลกใหม่ ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียนและดูเหมือนว่า คอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบทเรียนแบบโปรแกรม
4. ชุดการสอน และโมดูล (Instructional packages and module)
เป็นวิธีการจัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เลือกสรรแล้ว อันประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย เนื้อหาและวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลาย ที่รวบรวมไว้เป็นระเบียบ เพื่อให้ครูหรือผู้เรียนได้ศึกษาจากประสบการณ์ทั้งหมดนี้ชุดการสอนสร้างขึ้นโดยอาศัยหลักการและทฤษฏีที่สำคัญ คือการใช้สื่อประสม และการใช้วิธีวิเคราะห์ระบบ รู้จักแพร่หลายในชื่อต่างๆ กัน เช่น Learning package, Instructional Packages, Instructional Kits. ฯลฯ
5. การสอนเป็นคณะ (Team teaching)
การสอนเป็นคณะเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่ง ที่จัดให้ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ทำการสอนร่วมกัน โดยอาจอาศัยครูผู้ช่วย มาช่วยงานด้านวางแผนการสอน เพื่อให้ได้ประโยชน์จาก ความสามารถพิเศษของครูผู้ร่วมคณะ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Team teaching จำนวนนักเรียน ในทีมการสอนหนึ่งๆ อาจมีจำนวนตั้งแต่ 40 - 300 คน การจัดกลุ่มคำนึงถึง อายุ ความสนใจ ความถนัด อาจใช้ชั้นเรียนเดิมหรือคละกัน ทั้งนี้แล้วแต่วัตถุประสงค์ของคณะ มีการแบ่งกลุ่มย่อย 12-20 คน คณะครูควรอยู่ระหว่าง 5-7 คน ซึ่งมีทั้งผู้มีความรู้ทั่วไปและเฉพาะทาง ครูในทีมแต่ละคนจะต้องสอนร่วมกันมีการประชุมปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันอยู่เสมอ รับผิดชอบการสอนทั้งในกลุ่มใหญ่และเป็นผู้รับผิดชอบประจำกลุ่มย่อย
6. ศูนย์การเรียน (Learning center)
เป็นการจัดเนื้อหาวิชาออกเป็นหน่วยๆ แต่ละหน่วยจะมีกิจกรรม อุปกรณ์และเนื้อหา วิชาแตกต่างกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยการประกอบกิจกรรมจากหน่วยต่าง ๆ ตามที่กำหนดในแต่ละหน่วยการเรียนภายใต้การควบคุมของผู้สอนโดยอาศัยหลักการและทฤษฏีที่สำคัญ คือ การใช้สื่อประสม กระบวนการกลุ่ม
7 .การสอนแบบจุลภาค (Micro teaching)
เป็นการสอนที่ย่อส่วน หรือจำลองสถานการณ์มาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างรัดกุมเป็นการสอน ในสถานการณ์ของห้องเรียนแบบง่ายๆ กับนักเรียน 5-10 คน ใช้เวลา 5 - 15นาที เปิดโอกาสให้ครูได้ฝึกฝนทักษะการสอนใหม่ ๆ หลังจากได้ดูแบบหรือตัวอย่างมาแล้ว ขณะสอน มีการบันทึกภาพเพื่อให้ครูได้ดูการสอนของตน จะได้ปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น ก่อนนำไปทำการสอนจริงๆ การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับการฝึกอบรมครูหรือ การสอนนักศึกษาครู
8 .การจัดตารางเรียนแบบยืดหยุ่น (Flexible scheduling)
เกิดจากแนวความคิดที่ว่า การเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหาวิชานั้นไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเท่ากันเพราะการเรียนรู้ในแต่ละวิชาย่อมมีระดับความยากง่าย และวิธีการจัดลำดับ การเรียนรู้ ที่แตกต่างกันออกไป อีกประการหนึ่งก็คือ ผู้เรียนนั้นย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางด้าน สติปัญญา ความสามารถ และช่วงความสนใจของผู้เรียนที่มีต่อวิชาต่าง ๆ นั้นไม่เท่ากัน เด็กเล็กจะมีช่วงความสนใจ ในบางวิชาเพียง 10 -15 นาที แต่เด็กโต จะมีช่วงความสนใจที่มากกว่า ดังนั้นการจัดตารางสอน จึงต้องจัดให้เหมาะสมสำหรับแต่ละวิชา
9. โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน (RIT)
เป็นการจัดระบบการเรียนการสอน ที่จะลดเวลาที่ครูจะต้องสอนหรือเกี่ยวข้องกับนักเรียนให้น้อยลงกว่าอัตราเวลาเป็นอยู่ในปัจจุบันโดยไม่ทำให้คุณภาพการศึกษา หรือผลการเรียนของนักเรียน ลดลงกว่าเดิม เช่นเดิมที่ครูต้องใช้เวลาสอน 60 นาที แต่หากนำนวัตกรรมนี้มาใช้แล้วอาจจะลดเวลาเหลือเพียง 15-30 นาทีเท่านั้น ที่นักเรียนจะเรียนกับครู เวลาที่เหลือ นักเรียนก็จะเรียนกับสื่อการเรียนต่าง ๆ ที่จัดไว้ให้ ช่วยให้ครูมีเวลา ตรวจงานนักเรียน กวดขันนักเรียนอ่อน หรือที่เรียนไม่ทันเพื่อน ครูคนหนึ่งอาจสอนนักเรียนได้หลายห้องเพราะสามารถใช้เวลาที่เหลือจากการสอนห้องหนึ่ง ไปสอนอีกห้องหนึ่งได้
10.การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
เนื่องจากปัจจุบัน สื่อมวลชนประเภทต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสารนิตยสาร วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันในด้านการรับรู้ข่าวสาร การสร้างค่านิยม และการศึกษาประชาชนอย่างกว้างขว้าง การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีทั้งในรูปการศึกษาทั่วไป และการศึกษาในวิชาการเฉพาะสาขา คุณค่าของการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา คือ สามารถให้การศึกษาแก่ประชาชนได้รวดเร็ว และได้จำนวนมากพร้อมๆ กัน
นอกจากนวัตกรรมทางการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ยังมีนวัตกรรมทางการศึกษาอีกหลายอย่าง ที่นักศึกษา ผู้สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารตำราที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้น เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้นั้น ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านใด ก็จะเรียกว่าเทคโนโลยีด้านนั้นๆ เช่น ถ้านำมาใช้ทางด้านการแพทย์ ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ ถ้านำมาใช้ทางด้านการเกษตร ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร ถ้านำมาใช้ทางด้านวิศวกรรม ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษา จึงจำเป็นต้อง ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี การศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยี
เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1.เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2.เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจาก
การใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3.เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบ
คอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology) ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้ 1) ก. การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ข. องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 2) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
1.องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2..การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3.วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4.กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5.ศิลปะ และทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ
1.ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้
อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มาก
ที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการ
ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
เทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
นักการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆได้ให้ความหมายของคำเทคโนโลยีการศึกษาไว้ดังนี้
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)
3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวตกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า นวตกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1.เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมา
ก่อนแล้ว
2.ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมี
ประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล
กระบวนการ และผลลัพธ์
4.ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม
2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม
3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้
4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้
ขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
ที่มาข้อมูล http://school.obec.go.th/sup_br3/t_2.htm




คอมพิวเตอร์ช่วยสอนพัฒนาศักยภาพนักศึกษา กศน.
(Computer Assisted Instruction) หรือ CAI
• ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ เป็นบทเรียนประเภท CAI ที่มีภาพประกอบพร้อมคำบรรยาย วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมด 4 ข้อ คือ
1. การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100
2. การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000
3. การคูณ
4. การหาร
รูปแบบการเสนอเป็นการนเสนอแบบพี่สอนน้อง โดยการนำพี่ๆ ที่เป็นสัตว์ที่เด็กๆ ชื่นชอบเป็นตัวดำเนินเรื่องในการสอนของแต่ละบท ดังนี้
หัวข้อ หน้าแรก



คำบรรยายภาพ ยินดีต้อนรับเข้าสู้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จัดทำโดย นายประกิต เตชะกฤตธีรพงศ์ โรงเรียนชุมชนวัดมาติการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท

• ข้อเด่นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีผลย้อนกลับมาได้เร็วทันที โดยไม่ต้องรอครูผู้สอน
2. การใช้สี ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหว เสียงดนตรี ซึ่งเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและดึงดูดใจผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัดหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น
3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
4. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
5. การเก็บข้อมูลของเครื่องทำให้สามารถนำไปใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็น อย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
6. ลักษณะโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตน โดยสะดวกอย่างช้า ๆ โดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบผิด และผู้เรียนเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันเราได้ใช้ระบบการสื่อสารทางด้านคอมพิวเตอร์ติดต่อหรือค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา
7. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของครู ในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้
• ข้อด้อยของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ใช้วิธีการเร้าความสนุกมากเกินไป ซึ่งบทเรียนบางบทเรียนที่เน้นความสนุก โดยนำเข้าไปแทรกในบทเรียน บางทีอาจจะไม่มีสาระต่อการเรียนรู้ก็ได้
2. การออกแบบโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอนนั้น ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เมื่อเทียนกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ และยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
3. เนื้อหาไม่ตรงกับสาระวิชาหรือหลักสูตร ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แท้จริง ที่จะสามารถนำมาสอนได้
4. การที่จะให้ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความชำนาญและความสามารถเป็นพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของครูผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5. ผู้เรียนบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมาก ไม่มีความเป็นธรรมชาติเหมือนอยู่ในห้องเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

.....

5555

ประวัติส่วนตัวนางสาวสุนีย์ กลัดแพ

ชื่อ - สกุล นางสาวสุนีย์ กลัดแพ

ที่ทำงาน กศน.อำเภอบางใหญ่ จ.นนทบุรี เบอร์ติดต่อ 02 - 9265846 / เบอร์มือถือ 085 - 2394899

ที่อยู่ปัจจุบัน 72/ ก หมู่ 3 ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี

จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการจัดการโครงการและการประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปีการศึกษา 2551