รายการบล็อกของฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีใช้และผลิตกันอยู่ทั่วไป สามารถจำแนกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งานและวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิชา ได้ดังนี้
1. การฝึกทักษะ หรือการฝึกปฏิบัติ ( Drill and Practice)
ใช้สำหรับฝึกหัด ทบทวน เรื่องที่เรียนผ่านมาแล้วเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความแม่นยำในเนื้อหาโดยคอมพิวเตอร์จะนำเสนอในรูปแบบของแบบฝึกหัดหรือโจทย์ทีละข้อเพื่อเปรียบเทียบคำตอบของนักเรียนกับคำตอบที่ถูกต้อง ถ้าผู้เรียนตอบผิดในคำตอบแรก คอมพิวเตอร์จะถามในคำถามเดิม ถ้าครั้งที่สอง ยังตอบผิด คอมพิวเตอร์จะเฉลยคำตอบ แล้วจึงจะเสนอแบบฝึกหัดหรือโจทย์ในข้อถัดไปหรือถามคำถามเดิม จนกว่า ผู้เรียนจะตอบถูก จึงจะเสนอคำถามในข้อถัดไป โปรแกรมการฝึกทักษะจึงเป็นที่นิยมแพร่หลายที่สุด เพราะเป็นบทเรียน ที่สร้างง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก
2. การจำลองสถานการณ์ ( Simmulation )
เป็นการจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงให้นักเรียนศึกษาอย่างใกล้ชิด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะในการตัดสินใจแบบต่าง ๆ และเห็นผลของการตัดสินใจนั้น โปรแกรมประเภทนี้ มักจะใช้ในการ ฝึกปฏิบัติ สิ่งที่ไม่อาจฝึกด้วยของจริง เช่น การทดลองที่เป็นอันตรายหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก การเสนอสถานการณ์จำลองของระบบสุริยะจักรวาล มีดาวเคราะห์อะไรบ้างที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ในโปรแกรมนี้จะมี การ หมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ด้วย จึงเหมาะสำหรับการสอนเนื้อหาที่ศึกษาจากของจริงโดยตรง เป็นไปได้ยากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หรือเป็นอันตราย
3. การสอนแบบเนื้อหา ( Tutorial )
มีลักษณะคล้ายบทเรียนโปรแกรมที่มีทั้งคำอธิบายและคำถามให้เลือกตอบได้ในขณะเรียน ซึ่งคำถามอาจเป็นในรูปแบบของแบบเลือกตอบ หรือเติมคำ หรือแบบถูกผิด และให้ผลย้อนกลับสำหรับผู้เรียนได้ทันทีโปรแกรมประเภทนี้ส่วนมากใช้สอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกฏเกณฑ์หรือมโนทัศน์ ( Concept) ใหม่ ๆ เป็น
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้สอนแทนครูเฉพาะในเนื้อหาบางตอน โดยเสนอเนื้อหาความรู้เป็นเนื้อหาย่อย ๆ
แก่ผู้เรียน นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาที่มีคำถามแทรกอยู่เป็นระยะ ๆ โดยนักเรียนจะตอบไปตามโปรแกรมที่ตั้งไว้
นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนอยู่โดยโปรแกรมบทเรียนจะตอบคำถามนั้น ๆ
และประเมินคำตอบของนักเรียนที่บันทึกไว้ในการเสนอเนื้อหาบทเรียนใหม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคำตอบ ของนักเรียน ว่ามีความรู้ความเข้าใจเพียงใด ข้อดีของโปรแกรมนี้ คือ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเรื่องที่ตนถนัด และตามความ
สามารถ ของผู้เรียน เพราะลักษณะของบทเรียนจะแยกออกเป็นตอนย่อย ๆ
4. การทดสอบ ( Testing )
เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทดสอบ โดยให้ผู้เรียนทำการสอบ แบบมีปฏิสัมพันธ์ กับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการวัดผลการเรียนการสอน ซึ่งทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนานตื่นเต้น และน่าสนใจ โดย
คอมพิวเตอร์จะเสนอคำถามทีละข้อซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกตอบคำถามข้อใดก่อนหลังก็ได้ และท้ายที่สุดโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะตัดสินคำตอบทั้งหมดให้กับผู้เรียน แจ้งผลคะแนนและจัดลำดับให้ทราบทันที อีกทั้งยังสามารถบันทึกผลคะแนนเพื่อให้ทราบความก้าวหน้าอีกด้วย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
5. เกมเพื่อการสอน ( Instructional Game)
เป็นการใช้เกมเพื่อการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่มาก เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนผู้เรียนจึงได้รับความรู้ ทักษะ และความสนุกสนานไปในตัว บทเรียนแบบนี้มีคุณประโยชน์คล้ายกับ แบบสถานการณ์จำลองตรงที่ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาที่เสนอให้ทั้งหมด บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เป็นบทเรียนและเครื่องมือประกอบการสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งให้ ความตื่นเต้น สนุกสนาน แต่มีจุดมุ่งหมายชัดเจนในการเรียนรู้

• การแก้ปัญหา (Problem-Solving )
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด รู้จักการตัดสินใจ โดยมีการกำหนดเกณฑ์ให้ผู้เรียนเรียนไปตามเกณฑ์นั้นโปรแกรมการแก้ปัญหานี้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ โปรแกรมที่ให้ผู้เรียนเขียนเอง และโปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้ว เพื่อช่วยผู้เรียนในการแก้ปัญหา โปรแกรมที่ผู้เรียนเขียนเองจะกำหนดปัญหาและเขียนโปรแกรม สำหรับ การแก้ปัญหานั้น โดยที่คอมพิวเตอร์จะช่วยในการคิดคำนวณและหาคำตอบที่ถูกต้องให้ แต่ถ้าเป็นการแก้ปัญหา โดยใช้โปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้ว คอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณขณะที่ผู้เรียนเป็นผู้จัดการกับปัญหาเหล่านั้น

• ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. คอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีผลย้อนกลับมาได้เร็วทันที โดยไม่ต้องรอครูผู้สอน
2. การใช้สี ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหว เสียงดนตรี ซึ่งเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและดึงดูดใจผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัดหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น
3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
4. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะช่วยในการบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
5. การเก็บข้อมูลของเครื่องทำให้สามารถนำไปใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็น อย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
6. ลักษณะโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตน โดยสะดวกอย่างช้า ๆ โดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบผิด และผู้เรียนเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันเราได้ใช้ระบบการสื่อสารทางด้านคอมพิวเตอร์ติดต่อหรือค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา
7. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของครู ในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้

• ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ใช้วิธีการเร้าความสนุกมากเกินไป ซึ่งบทเรียนบางบทเรียนที่เน้นความสนุก โดยนำเข้าไปแทรกในบทเรียน บางทีอาจจะไม่มีสาระต่อการเรียนรู้ก็ได้
2. การออกแบบโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอนนั้น ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เมื่อเทียนกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ และยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
3. เนื้อหาไม่ตรงกับสาระวิชาหรือหลักสูตร ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แท้จริง ที่จะสามารถนำมาสอนได้
4. การที่จะให้ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความชำนาญและความสามารถเป็นพิเศษ ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของครูผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5. ผู้เรียนบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมาก ไม่มีความเป็นธรรมชาติเหมือนอยู่ในห้องเรียน

• ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ เป็นบทเรียนประเภท CAI ที่มีภาพประกอบพร้อมคำบรรยาย วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมด 4 ข้อ คือ
1. การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100
2. การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000
3. การคูณ
4. การหาร
รูปแบบการเสนอเป็นการนเสนอแบบพี่สอนน้อง โดยการนำพี่ๆ ที่เป็นสัตว์ที่เด็กๆ ชื่นชอบเป็นตัวดำเนินเรื่องในการสอนของแต่ละบท ดังนี้












หัวข้อ หน้าแรก




คำบรรยายภาพ
ยินดีต้อนรับเข้าสู้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จัดทำโดย นายประกิต เตชะกฤตธีรพงศ์ โรงเรียนชุมชนวัดมาติการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท



หัวข้อ หน้าแรก




คำบรรยายภาพ
หน้าเมนูหลักคลิกเพื่อเลือกหัวข้อ แนะนำบทเรียน เนื้อหาบทเรียน มาตรฐานการเรียนรู้ คู่มือการใช้โปรแกรม หรือออกจากโปรแกรมครับ


หัวข้อ หน้าแรก




คำบรรยายภาพ
กรอกชื่อและนามสกุลของน้องๆ เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม ตกลง ครับ



หัวข้อ หน้าแรก




คำบรรยายภาพ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู้แบบทดสอบก่อนเรียนนะครับ คลิกตกลงเพื่อเข้าทำแบบทดสอบได้เลยครับ


หัวข้อ เนื้อหาบทเรียน




คำบรรยายภาพ
เนื้อหาบทเรียน ให้นักเรียนเลือกบทเรียนที่สนใจได้เลยนะครับ แต่ถ้านักเรียนคนใดยังไม่ได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ให้คลิกที่ปุ่ม แบบทดสอบ เพื่อเข้าไปทำแบบทดสอบก่อนเรียนนะครับ



หัวข้อ การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100




คำบรรยายภาพ
การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 น้องๆ เลือกศึกษาหัวข้อที่สนใจได้เลยนะครับ
เมื่อเลือกคลิกหัวข้อจะโชว์ตัวอย่างดังนี้คือ ในที่นี่จะเลือกหัวข้อ "ความสัมพันระหว่างตัวตั้ง ตัวลบและผลลบ"
หัวข้อ ความสัมพันธ์ของตัวตั้ง ตัวลบ และผลลบ




คำบรรยายภาพ
น้อง ๆ ทราบหรือไม่ว่า การลบมีความสัมพันธ์กับการบวก กล่าวคือ ผลลัพธ์ของจำนวน 2 จำนวนใด ๆ เมื่อบวกกับตัวลบ จะเท่ากับ ตัวตั้งเสมอ

หัวข้อ การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000



คำบรรยายภาพ การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 น้องๆ เลือกศึกษาหัวข้อที่สนใจได้เลยนะครับ

หัวข้อ การคูณ



คำบรรยายภาพ การคูณ น้องๆ เลือกศึกษาหัวข้อที่สนใจได้เลยนะครับ

หัวข้อ การบวกและการคูณ



คำบรรยายภาพ
สวัสดีครับน้องๆพบกับพี่ลิงน้อยในเรื่องการบวกและการคูณนะครับ การบวกและการคูณ น้องๆ ครับพี่ลิงน้อยมีส้มอยู่ 5 กอง กองละ 2 ผล อยากรู้ว่าพี่ลิงน้อยมีส้มทั้งหมดกี่ผล

หัวข้อ โจทย์ปัญหา



คำบรรยายภาพ โจทย์ปัญหา น้องครับในตอนนี้พี่ลิงน้อยมีโจทย์ปัญหาการคูณคือ พี่มีแก้ว 3 กล่อง กล่องละ 4 ใบ พี่มีแก้วทั้งหมดกี่ใบ

หัวข้อ การลบและการหาร



คำบรรยายภาพ กาลบและการหาร น้องๆ ครับสมมุติว่าพี่แพนกวิ้นมีขนม 6 ชิ้น ถ้าให้หยิบครั้งละ 2 ชิ้น พี่แพนกวิ้นจะต้องหยิบขนมกี่ครั้งจึงจะหมดพอดี
• การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการจัดการศึกษาของ กศน.
ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของการศึกษานอกโรงเรียนนั้นถือว่าการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมากเพราะที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction) เป็นสื่อการศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากและยังมีข้อได้เปรียบเหนือสื่ออื่นๆ ด้วยกันหลายประการ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงกลายเป็นสื่อการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงการศึกษา ของครู อาจารย์ และนักการศึกษาและนักวิชาการทั่ว ๆ ไปในปัจจุบัน การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการสอนนั้น ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของการจัดหาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้หรือการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขึ้นใช้เองก็ตาม ครู อาจารย์ นักการศึกษา และนักวิชาการ จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ดังนั้นการจัดทำเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นเสมือนผู้ช่วยครูผู้สอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการด้านการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์นำมาใช้ในสถานศึกษาออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์หรือครูผู้สอน
คือ การนำคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่ของครู ผู้สอนหรือติวเตอร์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์จะถูกใช้ในการนำเสนอบทเรียน คอยตอบคำถาม ให้คำแนะนำต่างๆ ตลอดจนทดสอบและประเมินความเข้าใจ ตัวอย่าง เช่น การให้ผู้เรียนเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์กาเรียนการสอน
เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างหนึ่ง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำเกรดหรือพิมพ์เอกสารประกอบการสอน
3. การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน
การสอนการเขียนโปรแกรมให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งลักษณะนี้คอมพิวเตอร์ก็เปรียบเสมือนนักเรียน (Tutee) ซึ่งต้องคอยรับคำสั่งจากผู้สอนและผู้สอนในที่นี้ก็คือ ผู้เรียนซึ่งเรียนการเขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง
จากการดำเนินงานจัดการเรียนการสอน กศน.ในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งลักษณะของการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการศึกษาออกเป็น 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1. คอมพิวเตอร์กับการบริหาร โดยการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเพื่อใช้ในฝ่ายธุรการ เพื่อช่วยงานการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ อาทิ เช่น การทำทะเบียนประวัตินักศึกษา การทำทะเบียนประวัติของครู การจ่ายเงินเดือนครุและเจ้าหน้าที่ การพิมพ์ในแจ้งผลการเรียน การจัดตารางสอน ตารางสอบ การจัดเก็บรายรับ รายจ่าย งบประมาณ และข้อมูลทรัพย์สินของโรงเรียน ฯลฯ ทั้งนี้ถือเป็นการช่วยผู้บริหารในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการเตรียมข้อมูล ประมวลผลและนำเสนอ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาต่าง ๆ นอกจากนี้ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วยงานการพิมพ์ทั่วไป เช่น การออกจดหมาย รายงานการประชุม จดหมายข่าว เป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์กับการจัดการการสอน (Computer-Managed Instruction หรือ CMI) ในการจัดการเรียนการสอนทั่ว ๆ ไป ใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บสถิติต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การเก็บสถิติของนักเรียนที่มาเข้าเรียน ผลการสอบในแต่ละภาค เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งครูสามารถใช้ข้อมูลสถิติที่ได้จากการประมวลนี้มาใช้วางแผน การสอนตลอดจนปรับปรุงหลักสูตรได้ด้วย นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ก็สามารถนำมาใช้กับการจัดการการสอนทางคอมพิวเตอร์ได้ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างระบบในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและความต้องการของผู้เรียน เช่น จำนวนครั้งที่เข้าใช้ระบบระยะเวลาในการใช้ ผลสอบของผู้เรียน (ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจากการทดสอบผู้เรียนก่อนหรือหลังการเรียนโดยคอมพิวเตอร์กับการจัดการการสอนจะทำการสุ่มข้อสอบ จากฐานข้อมูลออกมา) ฯลฯ นอกจากนี้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์สร้างระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ เพื่อช่วยวางแผนการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนและระบบการนำเสนอเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามความสามารถความถนัดและความสนใจของตน ซึ่งการนำเสนอเนื้อหานี้จะอยู่ในรูปแบบของบทเรียนช่วยสอนทางคอมพิวเตอร์
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สำหรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการศึกษาในลักษณะของการนำเสนอการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ โดยที่คอมพิวเตอร์จะทำการนำเสนอบทเรียนแทนผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองในหมวดวิชาต่าง ๆ ซึ่งในภาคเรียนนี้ได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนหมวดวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านทำนองเสนาะและการพูดอย่างมีศิลปะ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนได้มากและนักศึกษา กศน.ก็สนใจเป็นอย่างดี
4. คอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือช่วย
ในการนำเสนอเนื้อหา (Presentation) การสร้างสื่อการสอนและการสร้างฐานข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีมัลติมีเดียนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนแบบบรรยายได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพหรือเสียง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ข้อความแต่เพียงอย่างเดียว การนำเสนอในลักษณะนี้จึงมีข้อได้เปรียบมาก นอกจากนี้ การนำเสนอเนื้อหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ยังช่วยเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ให้ดีขึ้นด้วย
5. คอมพิวเตอร์กับการติดต่อสื่อสารและการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต (Internet) จะช่วยให้ผู้ใช้ (ทั้งครูและนักเรียน) สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารและสอบถามความคิดเห็น ศึกษา ทำวิจัย ร่วมกับผู้ใช้อื่นๆ ทั้งที่อยู่ในสถาบันเดียวกันและสถาบันต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งการสั่งหรือส่งการบ้านผ่านทางเครือข่ายได้ โดยทั้งหมดนี้ทำได้โดยการใช้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษสั้นๆ ว่า อี-เมล์ (e-mail ย่อมาจาก electronic mail) นอกจากนี้การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือจากห้องสมุดต่างๆ ได้ การประชุมทางไกล (teleconference) หรือการเรียนทางไกล (teleeducation) ผ่านทางเครือข่ายได้ ซึ่งการศึกษานอกโรงเรียนใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนทางไกลผ่านจานดาวเทียมไทยคม ซึ่งมีสถานีแพร่ภาพที่อยู่ที่วังไกลกังวล สามารถเปิดรับชมได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดรราชการในช่อง ETV



• การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในกิจกรรมของ “ชมรมจิตอาสา” กศน.บางบัวทอง
“ชมรมจิตอาสา” เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำตนเป็นบุคคลที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ฝึกให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ปฏิบัติตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่ดีต่อการพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้นคณะครูการศึกษานอกโรงเรียนจึงมีความสนใจที่จะสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์สำหรับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนทั้ง 2 ระดับขึ้น คือ นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของศูนย์การเรียนชุมชนหมู่บ้านบัวทอง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางบัวทอง จำนวน 20 คน ซึ่งมีแผนในการดำเนินงาน คือ
1. สุ่มตัวอย่างนักศึกษาซึ่งเป็นสมาชิกชมรมจิตอาสาโดยวิธีจับฉลากจากผู้เรียนทั้งหมด ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่
1.) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 4 หน่วย ดังนี้
หน่วย 1 ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย
หน่วย 2 สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
หน่วย 3 พิธีการต่างๆของผู้บำเพ็ญประโยชน์
หน่วย 4 การบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
2.) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
โดยการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เรื่อง การบำเพ็ญประโยชน์
3.) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 10 แผ่น
4.) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แบบประเมินผล

ซึ่งจากการจัดทำแผนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าวข้างต้น จะนำไปใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวนักศึกษา ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป







• ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แม้ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเต็มไปด้วยประโยชน์มากมาย แต่การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อาจเป็นในลักษณะของดาบสองคมได้เช่นกัน หากไม่ได้มีการวางแผนให้รอบคอบก่อนนำไปใช้นั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก่อให้เกิดโทษได้ ตัวอย่างเช่น การเพียงแต่กำหนดให้ผู้เรียนไปใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยที่ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมใดๆ แก่ผู้เรียนเสียก่อน (เช่น การจัดหาความรู้พื้นฐานที่จำเป็นก่อนการใช้โปรแกรม เป็นต้น ) อาจส่งให้เกิดผลลบต่อการเรียนของผู้เรียนแทนการเรียนรู้ได้ ในกรณีนี้ผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมวางแผนการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสมด้วย นอกจากการวางแผนในการนำไปใช้แล้ว การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (หรือการเลือกสรรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ที่ได้มาตรฐานไว้ใช้งานเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยาและทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน้อยเกินไป หรือการที่กิจกรรมที่มีไม่สร้างสรรค์ ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือการที่โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนในการควบคุมการเรียนของตนได้จะสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ อีกต่อไป และทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในแง่ลบแทน ยิ่งไปกว่านั้นผู้สนใจสร้างควรที่จะคำนึงไว้ด้วยว่าการผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลานานพอสมควร
ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบให้ผู้เรียนใช้เวลาในการเรียนประมาณ 1 คาบนั้น จะต้องใช้เวลาในการผลิตประมาณ 60-100 ชั่วโมง นอกจากเวลาในการผลิตแล้วค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้นับว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทอื่นๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อโสตทัศนวัสดุ ต่าง ๆ ดังนั้น ผู้ที่สนใจในการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงต้องใช้เวลาคิดพิจารณาในช่วงของการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มากทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งงานที่คุ้มค่ากับเวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปด้วย

• สรุป
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือบทเรียนช่วยสอน คือ การจัดทำเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นเสมือนผู้ช่วยครูผู้สอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียน เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากสื่อการสอนอื่น ๆ คือ สามารถโต้ตอบ และแสดงผลลัพธ์บางอย่างให้ผู้เรียนดูได้ทันที ทำให้น่าตื่นเต้น สนุกสนาน เร้าความสนใจให้อยากเรียน ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงมีส่วนในการส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีกว่าการสอนแบบอื่น และจะเห็นว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีโครงสร้างคล้ายกับบทเรียนโปรแกรมซึ่งมีการนำเสนอเนื้อหา เป็นกรอบย่อย ๆ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากง่ายไปยาก เป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ มีการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ที่มีความน่าสนใจ และเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งผู้ที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีได้ต้องศึกษาโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าใจ ศึกษารายละเอียดและลักษณะเฉพาะอย่างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแต่ละรูปแบบให้ดีว่ามีคุณลักษณะเด่นในด้านใด โดยคำนึงถึง จุดประสงค์ในการเรียนการสอนเป็นหลัก รวมถึงลักษณะเนื้อหาวิชา และความพร้อมของผู้เรียนด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่สามารถสอนแทนครูได้ทั้งหมดซึ่งอาจเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนต้องพัฒนาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมให้มากที่สุดและประยุกต์เอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแม้จะมีประโยชน์หลาย ๆ ด้าน แต่ในการนำเอาบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการเรียนการสอนนั้น จะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย เพราะ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเพียงอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนเท่านั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นจะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความ สามารถเฉพาะด้านด้วย จากที่ได้กล่าวมาเป็นเพียงข้อควรคำนึงในการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งผู้สร้างต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้า การสังเกต และประสบการณ์ในการจัดสร้างต่อไป จึงจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนอีกด้วย